กฏระเบียบที่ปราศจาคการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป
(EU Deforestation Free Regulation)

สถานการณ์ความผันแปรของโลก ( Global change) ภัยพิบัติที่เกิดมาจากผลสืบเนื่องจากปรากฏการณ์โลกร้อน ทั่วโลกให้ความสำคัญเกี่ยวกับการลดการปลดปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ กลุ่มประเทศพัฒนาเริ่มให้ความสำคัญกับการคงอยู่ของพื้นที่ป่าธรรมชาติและการสร้างป่าขึ้นมาใหม่โดยใช้หลักการของความยั่งยืน มาตรการไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการทำลายป่าหรือมีแหล่งที่มีที่ไม่ถูกต้องตามกฎมาย ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการที่เรียกว่า The EU Deforestation-free Regulation (EUDR) ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) เป็นความคิดริเริ่มใหม่ของสหภาพยุโรป เพื่อจำกัดการกับกิจกรรมที่ตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดจากการทำป่าไม้และกิจกรรมการเกษตรทั่วโลก กฎระเบียบใหม่ จะมีข้อกำหนดการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะภาคบังคับใหม่สำหรับธุรกิจในสหภาพยุโรปซึ่งจะครบกำหนดที่ได้ขยายออกไปราวปี พ.ศ. 2567 และจะเข้ามาแทนที่กฎระเบียบด้านไม้ของสหภาพยุโรป (EUTR) (จาก https://www.global-traceability.com) กฎระเบียบนี้จะครบคลุมผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ กาแฟ โกโก้ น้ำมันปาล์ม เนื้อวัว ถั่วเหลือง และยางพารา

# สินค้าไทยที่ส่งไป EU อาจได้รับผลกระทบที่ครอบคลุมกฎหมาย Deforestation
สินค้า มูลค่าการส่งออกไป EU
(ล้าน USD)
มูลค่าส่งออกทั้งหมด
(ล้าน USD)
สัดส่วนส่งออกไป EU
(%)
1. ยางพาราและผลิตภัณฑ์ 1,732,83 15,137.74 11.45
2. กาแฟ 0.32 3.58 9.01
3. โกโก้และผลิตภัณฑ์ 2.89 68.78 4.20
4. ไม้และผลิตภัณฑ์ 70.23 5,169.93 1.36
5. ปาล์มนำมันและผลิตภัณฑ์ 19.14 1,471.41 1.30
6. วัวและผลิตภัณฑ์ 4.29 646.48 0.66
7. ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ 0.002 302.39 0.00078

ข้อเสนอแรกสำหรับกฎระเบียบที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรปผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในปี 2565 และได้ผ่านรัฐสภาของสหภาพยุโรปพร้อมคำแนะนำในการแก้ไข ขั้นตอนต่อไปคือให้รัฐสภาเจรจาจุดยืนกับสภายุโรปและคณะกรรมาธิการ ตามข้อตกลงของพวกเขา กฎระเบียบจะกลายเป็นกฎหมายที่มีผลผูกพันในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เป็นไปได้ว่ากฎระเบียบจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2567 ข้อตกลงระหว่างรัฐสภาสหภาพยุโรปและคณะมนตรี รัฐสภายุโรปและคณะมนตรีจะต้องนำข้อบังคับใหม่มาใช้อย่างเป็นทางการก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ เมื่อกฎระเบียบมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการและผู้ค้าจะต้องปฏิบัติทันที สำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมจะมีเวลาการปรับตัวที่นานขึ้นประมาณ 18 เดือน เช่นเดียวกับข้อกำหนดเฉพาะอื่นๆ ซึ่งมาตรการนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำระบบการรับรองป่าไม้ ทั้งมาตรฐาน FSC หรือ PEFC ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการรับรองไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีไม้เป็นส่วนประกอบ ว่ามีแหล่งที่มาที่ไม่ได้มาจากการทำลายป่า รวมถึงมีระบบการติดตาม ตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือ ที่เรียกว่า Chain of Custody (CoC) แต่สำหรับรายการสินค้า และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีรายชื่อปรากฏนั้น จะต้องมีการสร้างระบบตรวจสอบ ระบบติดตาม ระบบสร้างความมั่นใจว่า จะไม่มีการปะปนกัน ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องท้ายทาย สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ของไทยที่จะดำเนินการให้่ผ่านพ้นวิกฤตินี้ ไปได้

# คำถามคือ EUDR คือ Forest Certification อย่างเดียวหรือเปล่า

คำถามที่ชวนสงสัย EUDR คือ Forest Certification (FSC หรือ PEFC) อย่างเดียวหรือเปล่า ถ้าเกษตรกรได้รับรอง FSC หรือ PEFC แล้วจะสามารถเข้า EU ได้เลยไหม ซึ่งในความเข้าใจไม่น่าจะใช่ EUDR กำหนดให้มีระบบการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ และสามารถติดตามย้อนกลับได้ หากผู้ที่ดำเนินการไม่เข้าในในประเด็นดังหล่าว นี้ ก็จะไปเข้าทาง กลุ่มองค์กรที่จะเข้ามา ชี้นำให้ประเทศไทย ต้องเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน ที่มีค่าใช้จ่ายสูง และกลุ่มองค์กรเหล่านั้นได้ประโยชน์ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจให้ดี และถ่องแท้ และควรดำเนินการให้ประเทศ เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด ให้ได้

อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำอย่างหนึ่งคือ ผู้เกี่ยวข้อง ต้องไปทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ EUDR ที่แท้จริง ดูไกด์ไล จากประเทศที่ผ่านการรับรองแล้ว มาประยุกต์ อย่างไรก็แล้วแต่ ต้องหาแนวทาง ที่เป็นทางเลือกหลาย ๆ แนวทาง และนำมาพัฒนา เป็นข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการ เกษตรกรของประเทศไทย ไม่ควรให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคนรับผิดชอบหลัก เนื่องจากส่วนใหญ่ มีงาน มีภาระหน้าที่ที่ล้นมือกันอยู่แล้ว อีกทั้งราชการ มีการเปลี่ยนตัวบุคคลบ่อย ทำให้การเชื่อมต่อ ความต่อเนื่องนั้นลำบาก และที่สำคัญ " อย่าไปเชื่อหน่วยงาน หรือองค์กร NGOs ที่ดำเนินการเรื่องดังกล่าว จนมากเกินไป "
# การรับรองคาร์บอนเครดิต กับ EUDR

ในขณะเดียวกันประเทศไทยกำลังตื่นตัวเกี่ยวกับการรับรองคาร์บอนหรือคาร์บอนเครดิต โดยกำหนดให้มาตรฐาน Premium-TVER ซึ่งกำหนดให้โครงการที่จะได้รับการรับรองตามมาตรฐานนี้ในกิจกรรมการสร้างป่านั้น มีส่วนที่คล้ายกัน หรือ เกี่ยวเนื่องกัน กับมาตรฐาน FSC หรือ PEFC หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งในกิจกรรม กิจการปลูกไม้เศรษฐกิจ และพืชพลังงาน กำหนดให้ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม เช่น Forest Stewardship Council (FSC), Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) หรือ มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เป็นต้น ก่อนวันครบเปิดดำเนินการ

# การรับรองด้านป่าไม้ (Forest Certification)

หลักคิดของระบบรับรองป่าไม้นั้น คือ การสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้ได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้มาจากการเปลี่ยนสภาพป่าที่ผิดกฎหมาย ทำลายสิ่งแวดล้อมและขาดความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างนั้นทำได้โดยการให้บุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือเข้ามาทำการประเมินความเสี่ยง รวมถึงการจัดทำเอกสารที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปได้ถึงต้นทางการผลิตอันเป็นต้นน้ำได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากในอดีต ทำให้การเข้าถึงมาตรฐานดังกล่าวเหล่านี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกรับรองแล้วน้อยกว่าร้อยละ 1
มาตรฐานการรับรองป่าไม้ (Forest Certification) มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการ เกษตรกรจะได้รับสิทธิประโยชน์เหล่านั้น แต่การเข้าถึงระบบมาตรฐานการรับรองป่าไม้ ทั้งมาตรฐาน FSC หรือ PEFC นั้นค่อนข้างยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนสูงมาก จากผลการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สกว. ปีงบประมาณ พบว่าต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาคุณภาพของมาตรฐานหลังจากได้รับการรับรองแล้ว

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองตามมาตรฐาน ประกอบด้วย
1. ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมความพร้อมหรือการจัดทำระบบ
2. ค่าตรวจรับรองซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายเป็นค่าจ้างให้กับหน่วยตรวจรับรองหรือ Certification Body (CB)
3. ค่าใช้จ่ายในการรักษาคุณภาพของมาตรฐาน
3.1 ค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษา ปรับปรุง
3.2 ค่าใช้จ่ายค่าตรวจรายปี ซึ่งต้องจ่ายให้กับ CB

การขอใบรับรอง มี 2 ส่วนคือส่วนที่ รับรองแปลงปลูก หรือ SFM กับ รับรองการเคลื่อนย้าย หรือ CoC หากต้องการใบรับรอง FSC หรือ PEFC ลองสอบถาม ดร.สุเทพ จันทร์เขียว (089 - 117 0419 หรือ sutep28@yahoo.com )

# ระบบรับรองด้านป่าไม้ กับ EUDR

สองเรื่องนี้ที่จริงเป็นคนละเรื่องกัน แต่หากแปลงปลูกได้รับการรับรอง FSC หรือ PEFC แล้ว มันก็เป็นเครื่องยืนยันว่า ไม่ได้มาจากการทำลายป่า นั่นเอง อย่างไรก็ตาม EUDR ยังคงต้องการระบบสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่ ปน ปลอม รวมถึงตรวจสอบย้อนกลับได้ อย่างไรก็ตาม FSC และ PEFC นั้นใช้เฉพาะไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้เท่านั้น หากเป็น ปาล์มน้ำมัน กาแฟ โกโก้ หรือ อย่างอื่นตามข้อกำหนดของ EU แล้ว จะต้องจัดทำระบบ ที่เชื่อและยืนยันได้ว่าไม่ได้มาจากการทำลายป่า หรือ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า นั่นเอง

# บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กรมเจรจาฯ ถกรัฐ-เอกชน เห็นควรตั้ง กรอ.สิ่งแวดล้อม รับมือมาตรการปรับคาร์บอนอียู

สำนักประสานการพัฒนานวัตกรรม (Office of Innovation Development)
เขียนโดย : ดร.สุเทพ จันทร์เขียว (sutep28@gmail.com )
โทรมือถือ : 089 - 117 0419   Line ID : dr.sutep